Loading

Corporate Governance


บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจโดยยึดถือตามแนวทางปฏิบัติของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) รวมถึงหลักเกณฑ์ว่าด้วย ASEAN Corporate Governance Scorecard (ASEAN CG Scorecard) ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และ ประสิทธิผล ในการบริหารงาน และก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน เจ้าหนี้ ภาครัฐ ลูกค้า พนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งได้นำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance Code : CG Code) ของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่ออกในปี 2560 เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนนำมาปรับใช้ ในการกำกับดูแลให้กิจการมีผลประกอบการที่ดีใน ระยะยาวอย่างมีคุณค่าและยั่งยืน

บริษัทฯ ได้นำหลักการดังกล่าวมาเป็นหลักปฏิบัติให้แก่คณะกรรมการบริษัท โดยคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้มีหน้าที่กำหนดนโยบาย และกำกับดูแลการบริหารงานของผู้บริหาร ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายของบริษัทฯ และผู้บริหารมีหน้าที่บริหารธุรกิจเพื่อ สร้างผลกำไร โดยการทำหน้าที่ดังกล่าวทั้งคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหาร จะปฏิบัติและร่วมกันรับผิดชอบต่อทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็น พนักงาน เจ้าหนี้ รัฐ ลูกค้าและสังคม โดยตระหนักว่า นอกจากจะมีผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว บริษัทฯ จะต้องสามารถเติบโตได้ในระยะยาว เพื่อสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืนอีกด้วย

บริษัทฯ จึงได้จัดทำนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และคู่มือจรรยาบรรณทางธุรกิจในลายลักษณ์อักษร ครอบคลุมการปฏิบัติงาน ในด้านต่างๆขององค์กรให้เป็นไปตามหลักกฎหมายอันเป็นกติกาสากล โดยนโยบายดังกล่าวได้เผยแพร่ให้กรรมการและพนักงานทุกคน ของบริษัท รับรู้เพื่อนำไปปฏิบัติและประกาศไว้ในเว็บไซต์ของบริษัทฯ www.prinsiri.com สำหรับใช้ในการอ้างอิง โดยบริษัทฯ ได้จัดให้ มีการทบทวนนโยบาย โดยหลักปฏิบัติของ CG Code ปี 2560 มีรายละเอียดดังนี้

  • หลักปฏิบัติ 1. ตระหนักถึงบทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการในฐานะผู้นำที่สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน
  • หลักปฏิบัติ 2. กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายหลักของกิจการที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืน
  • หลักปฏิบัติ 3. เสริมสร้างคณะกรรมการที่มีประสิทธิผล
  • หลักปฏิบัติ 4. สรรหาและพัฒนาผู้บริหารระดับสูง และการบริหารบุคลากร
  • หลักปฏิบัติ 5. ส่งเสริมนวัตกรรม และการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ
  • หลักปฏิบัติ 6. ดูแลให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสม
  • หลักปฏิบัติ 7. รักษาความน่าเชื่อถือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล
  • หลักปฏิบัติ 8. สนับสนุนการมีส่วนร่วม และการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น

ภาพรวมของนโยบายและแนวปฏิบัติการทำกับดูแลกิจการ

หลักปฏิบัติ 1 ตระหนักถึงบทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการในฐานะผู้นำที่สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน

หลักปฏิบัติ 2 กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของกิจการที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืน

หลักปฏิบัติ 3 เสริมสร้างคณะกรรมการที่มีประสิทธิผล

หลักปฏิบัติ 4. สรรหาและพัฒนาผู้บริหารระดับสูง และการบริหารบุคลากร

หลักปฏิบัติ 5 ส่งเสริมนวัตกรรม และการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ

หลักปฏิบัติ 6 ดูแลให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสม

หลักปฏิบัติ 7 รักษาความน่าเชื่อถือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล

หลักปฏิบัติ 8. สนับสนุนการมีส่วนร่วม และการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น



นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับคณะกรรมการ

บริษัทฯ ประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์รวมถึงการให้บริการที่เกี่ยวเนื่อง ดังนั้น คณะกรรมการของบริษัทฯ ต้อง มีความรู้และความเชี่ยวชาญในหลากหลายแขนง เพื่อช่วยขับเคลื่อนและวางแนวทางในการดำเนินธุรกิจร่วมกับฝ่ายจัดการ

  1. คุณสมบัติของกรรมการการแต่งตั้ง
    บริษัทฯ กำหนดคุณสมบัติในการสรรหากรรมการ โดยการพิจารณาของคณะกรรมการสรรหาและพิจารณา ค่าตอบแทน และให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติจากข้อมูลประวัติ ความรู้ ความเชี่ยวชาญของกรรมการแต่ละท่าน
  2. การกำหนดค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร
    ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร เป็นไปตามนโยบายและตามกรอบที่ผู้ถือหุ้นอนุมัติ โดยอ้างอิงจากการนำเสนอของคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน
  3. ความเป็นอิสระของคณะกรรมการ
    เนื่องจากคณะกรรมการเป็นเสมือนตัวแทนของผู้ถือหุ้น ดังนั้น คณะกรรมการจึงต้องมีความรับผิดชอบต่อการ ปฏิบัติหน้าที่และเป็นอิสระอย่างแท้จริงจากฝ่ายจัดการ เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวม โดย มีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการและฝ่ายจัดการที่ชัดเจน โดยคณะกรรมการบริษัทจะ เป็นผู้กำหนด นโยบายและกำกับดูแลให้ระบบงานต่างๆของบริษัทฯ ดำเนินไปตามนโยบายที่ถูกต้องตามกฎหมาย และจริยธรรม
  4. การพัฒนากรรมการ
    บริษัทฯ มีการปฐมนิเทศกรรมการใหม่เมื่อมีการแต่งตั้งใหม่ทุกครั้ง เพื่อให้กรรมการมีความเข้าใจความคาด หวังที่บริษัทมีต่อบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของกรรมการ นโยบายและแนวปฏิบัติในการกำกับดูแลกิจการ ของบริษัทฯ ตลอดจนสร้างความรู้ ความเข้าใจในธุรกิจและดำเนินงานด้านต่างๆของบริษัทฯ เพื่อเตรียมความพร้อมใน การปฏิบัติหน้าที่กรรมการ

    บริษัทฯ สนับสนุนให้คณะกรรมการของบริษัทและผู้บริหารระดับสูง เข้าร่วมสัมมนาหลักสูตรที่เป็นประโยชน์ต่ การปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต่างๆ อยู่เสมอ โดยหลักสูตรที่กรรมการบริษัทควรเข้าสัมมนาอย่างน้อยจะต้องเป็นหลักสูตรของสมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย (IOD) ซึ่งได้แก่ หลักสูตร Directors Certification Program (DCP) หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP) หลักสูตร Audit Committee Program (ACP) หลักสูตร Executive Development Program (EDP) รวมถึงการอบรมหรือสัมมนาภายในโดยกรรมการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น ด้านกฎหมาย ด้านการเงิน เป็นต้น
  5. การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่กรรมการ
    บริษัทฯ กำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท (ทั้งคณะและรายบุคคล) และ คณะกรรมการชุดย่อยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเป็นการประเมินทั้งแบบรายบุคคลและแบบคณะกรรมการทั้งชุด เพื่อให้คณะกรรมการร่วมกันพิจารณาและปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานของตนเองต่อไป (รายละเอียดผลการประเมิน การปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ ในข้อ 6.1 ภาพรวมของนโยบายละแนวปฏิบัติการกำกับดูแลกิจการ)
  6. การกำกับดูแลบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
    บริษัทฯ มีการกำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการบริษัทย่อยและบริษัทร่วม เพื่อให้มีแนวทางดำเนินการไปใน ทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายของบริษัท
นโยบายและการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

นอกเหนือจากนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดี บริษัทฯยังมีแนวปฏิบัติอื่นๆที่กำหนดและวางแนวปฏิบัติเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยบริษัทฯสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนี้

  1. ก่อนกำหนดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในทุกๆปี บริษัทฯกำหนดหลักเกณฑ์การให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย สามารถเสนอเพิ่มวาระการประชุมล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น โดยคณะกรรมการจะพิจารณาบรรจุเรื่องที่ผู้ถือหุ้นเสนอเป็นวาระ การประชุม ซึ่งหากกรณีที่คณะกรรมการปฏิเสธเรื่องที่ผู้ถือหุ้นเสนอบรรจุเป็นวาระ คณะกรรมการต้องแจ้งเหตุผล ให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบ
  2. ก่อนกำหนดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในทุกๆปี บริษัทฯกำหนดหลักเกณฑ์การให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการ ทั้งนี้ คณะกรรมการจะดูแลให้มีการเปิดเผยหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า
  3. ก่อนกำหนดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในทุกๆ ปี บริษัทฯ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่งคำถามล่วงหน้าก่อนการประชุม โดยกำหนดหลักเกณฑ์การส่งค่าถามล่วงหน้า และเผยแพร่หลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้บน website ของบริษัทด้วย
จรรยาบรรณธุรกิจ

บริษัทฯ กำหนดจรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct) ซึ่งบังคับใช้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ของบริษัทฯ และ บริษัทย่อยทุกบริษัท และในทุกระดับไม่ว่าบุคคลดังกล่าวจะลงนามรับทราบหรือไม่ โดยจรรยาบรรณธุรกิจนี้เป็นส่วนที่เพิ่มขึ้นจากระเบียบ ข้อบังคับการทำงาน ประกาศ และคำสั่งอื่นๆ ของบริษัทฯ หากข้อความในระเบียบ ข้อบังคับการทำงาน ประกาศ และคำสั่งอื่นใด ขัดแย้ง กับข้อความในจรรยาบรรณธุรกิจ ให้ใช้ข้อความในจรรยาบรรณธุรกิจนี้แทน และบริษัทฯได้แจ้งเรื่อง จรรยาบรรณธุรกิจ ให้พนักงานทุกคน รับทราบในวันปฐมนิเทศพนักงานใหม่ รวมถึงประกาศจรรยาบรรณธุรกิจไว้ในระบบ Internet และ Website ของบริษัทฯ เพื่อให้เข้าถึงได้โดยง่าย

คณะกรรมการบริษัทจะพิจารณาทบทวนจรรยาบรรณธุรกิจในทุกปีว่ามีส่วนใดที่จะต้องปรับปรุง หรือแก้ไขให้สอดคล้องกับนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือไม่ โดยสาระสำคัญของจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทฯ มีดังนี้

การปฏิบัติต่อบริษัทฯ

  1. สนับสนุนนโยบายของบริษัทฯ ปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ปฏิบัติงานภายใต้อำนาจหน้าที่ ที่บริษัทฯ มอบหมาย และปฏิบัติงานตามกฎระเบียบ ประกาศ ข้อกำหนด และมติคณะกรรมการบริษัทที่มีอยู่ในขณะนั้นอย่าง เคร่งครัด
  2. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต อุทิศตน ทุ่มเท ดูแลสิทธิประโยชน์และทรัพย์สินของบริษัทฯ ให้คงสภาพดีเพื่อ ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ รวมถึงไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนทั้งทางตรงและทางอ้อม
  3. ปฏิบัติงานของบริษัทฯ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์หรือผลเสียหายที่จะมีต่อ บริษัทฯ เป็นสำคัญ
  4. มีทัศนคติที่ดีไม่กล่าวร้ายต่อบริษัทฯ โดยปราศจากความจริงและไม่เป็นธรรม รักษาชื่อเสียงของ บริษัท ตลอดจนระมัดระวังการแสดงความเห็นต่อบุคคลภายนอกในเรื่องที่อาจกระทบต่อชื่อเสียงและการดำเนินงานของบริษัทฯ
  5. เปิดเผยการมีความสัมพันธ์กับองค์กร สถาบันทางธุรกิจภายนอก หรือความสัมพันธ์ทางเครือญาติเพื่อหลีกเลี่ยงการก ระทำที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในด้านผลประโยชน์
  6. รักษาความลับของบริษัทฯ และลูกค้าอย่างเคร่งครัด และไม่ใช้ข้อมูลภายในของบริษัทฯ หรือลูกค้าเพื่อประโยชน์ของ ตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
  7. ไม่นำข้อมูลที่ตนได้จากการปฏิบัติหน้าที่ไปใช้ในทางมิชอบ หรือเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่มี ส่วนเกี่ยวข้องได้ทราบ

การปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน

  1. เสริมสร้างความสามัคคีเอื้อเฟื้อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งซึ่งจะนำไปสู่ความเสียหายต่อบุคคลอื่น และบริษัทฯ รวมถึงให้ความร่วมมือและการประสานงานในทางที่ชอบต่องานและต่อบริษัท
  2. เคารพในสิทธิของพนักงานอื่นที่อยู่ในองค์กรเดียวกัน ไม่วิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อเพื่อนพนักงานและต่อบริษัทฯ รวมทั้งไม่น่าผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน
  3. รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ใต้บังคับบัญชาเกี่ยวกับงานในหน้าที่ รับฟังคำแนะนำของผู้บังคับบัญชา และ พิจารณานำไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ต่องานของบริษัทฯ รวมถึงไม่ปฏิบัติงานข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน
  4. ไม่ประพฤติตนไปในทางที่นำความเสื่อมเสีย หรือนำความเสียหายมาสู่บริษัท
  5. รายงานหรือขอข้อแนะนำจากผู้บังคับบัญชาทันทีที่เกิดปัญหาในการปฏิบัติงาน หรือมีข้อสงสัยในความเสี่ยงใด ๆ ที่ อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจของบริษัทฯ

การปฏิบัติต่อตนเอง

  1. ประพฤติปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานของบริษัทฯ โดยเคร่งครัด
  2. มีทัศนคติที่ดีต่อบริษัทฯ ให้ความเคารพ เชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งการโดยชอบด้วยนโยบาย และระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ
  3. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต และมีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ
  4. ต้องมีจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเอง และต่อการปฏิบัติหน้าที่
  5. ศึกษาหาความรู้และบนหมั่นเพียรอย่างสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มทักษะในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
  6. ไม่ใช้อำนาจหน้าที่ของตน หรือยินยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ของตน ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แสวงหาประโยชน์ แก่ตนเองหรือผู้น

ทั้งนี้ สามารถศึกษานโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณธุรกิจ ได้ที่ www.prinsiri.com

จรรยาบรรณธุรกิจ

บริษัทฯ กำหนดจรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct) ซึ่งบังคับใช้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ของบริษัทฯ และ บริษัทย่อยทุกบริษัท และในทุกระดับไม่ว่าบุคคลดังกล่าวจะลงนามรับทราบหรือไม่ โดยจรรยาบรรณธุรกิจนี้เป็นส่วนที่เพิ่มขึ้นจากระเบียบ ข้อบังคับการทำงาน ประกาศ และคำสั่งอื่นๆ ของบริษัทฯ หากข้อความในระเบียบ ข้อบังคับการทำงาน ประกาศ และคำสั่งอื่นใด ขัดแย้ง กับข้อความในจรรยาบรรณธุรกิจ ให้ใช้ข้อความในจรรยาบรรณธุรกิจนี้แทน และบริษัทฯได้แจ้งเรื่อง จรรยาบรรณธุรกิจ ให้พนักงานทุกคน รับทราบในวันปฐมนิเทศพนักงานใหม่ รวมถึงประกาศจรรยาบรรณธุรกิจไว้ในระบบ Internet และ Website ของบริษัทฯ เพื่อให้เข้าถึงได้โดยง่าย

คณะกรรมการบริษัทจะพิจารณาทบทวนจรรยาบรรณธุรกิจในทุกปีว่ามีส่วนใดที่จะต้องปรับปรุง หรือแก้ไขให้สอดคล้องกับนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือไม่ โดยสาระสำคัญของจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทฯ มีดังนี้

การปฏิบัติต่อบริษัทฯ

  1. สนับสนุนนโยบายของบริษัทฯ ปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ปฏิบัติงานภายใต้อำนาจหน้าที่ ที่บริษัทฯ มอบหมาย และปฏิบัติงานตามกฎระเบียบ ประกาศ ข้อกำหนด และมติคณะกรรมการบริษัทที่มีอยู่ในขณะนั้นอย่าง เคร่งครัด
  2. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต อุทิศตน ทุ่มเท ดูแลสิทธิประโยชน์และทรัพย์สินของบริษัทฯ ให้คงสภาพดีเพื่อ ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ รวมถึงไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนทั้งทางตรงและทางอ้อม
  3. ปฏิบัติงานของบริษัทฯ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์หรือผลเสียหายที่จะมีต่อ บริษัทฯ เป็นสำคัญ
  4. มีทัศนคติที่ดีไม่กล่าวร้ายต่อบริษัทฯ โดยปราศจากความจริงและไม่เป็นธรรม รักษาชื่อเสียงของ บริษัท ตลอดจนระมัดระวังการแสดงความเห็นต่อบุคคลภายนอกในเรื่องที่อาจกระทบต่อชื่อเสียงและการดำเนินงานของบริษัทฯ
  5. เปิดเผยการมีความสัมพันธ์กับองค์กร สถาบันทางธุรกิจภายนอก หรือความสัมพันธ์ทางเครือญาติเพื่อหลีกเลี่ยงการก ระทำที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในด้านผลประโยชน์
  6. รักษาความลับของบริษัทฯ และลูกค้าอย่างเคร่งครัด และไม่ใช้ข้อมูลภายในของบริษัทฯ หรือลูกค้าเพื่อประโยชน์ของ ตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
  7. ไม่นำข้อมูลที่ตนได้จากการปฏิบัติหน้าที่ไปใช้ในทางมิชอบ หรือเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่มี ส่วนเกี่ยวข้องได้ทราบ

การปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน

  1. เสริมสร้างความสามัคคีเอื้อเฟื้อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งซึ่งจะนำไปสู่ความเสียหายต่อบุคคลอื่น และบริษัทฯ รวมถึงให้ความร่วมมือและการประสานงานในทางที่ชอบต่องานและต่อบริษัท
  2. เคารพในสิทธิของพนักงานอื่นที่อยู่ในองค์กรเดียวกัน ไม่วิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อเพื่อนพนักงานและต่อบริษัทฯ รวมทั้งไม่น่าผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน
  3. รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ใต้บังคับบัญชาเกี่ยวกับงานในหน้าที่ รับฟังคำแนะนำของผู้บังคับบัญชา และ พิจารณานำไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ต่องานของบริษัทฯ รวมถึงไม่ปฏิบัติงานข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน
  4. ไม่ประพฤติตนไปในทางที่นำความเสื่อมเสีย หรือนำความเสียหายมาสู่บริษัท
  5. รายงานหรือขอข้อแนะนำจากผู้บังคับบัญชาทันทีที่เกิดปัญหาในการปฏิบัติงาน หรือมีข้อสงสัยในความเสี่ยงใด ๆ ที่ อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจของบริษัทฯ

การปฏิบัติต่อตนเอง

  1. ประพฤติปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานของบริษัทฯ โดยเคร่งครัด
  2. มีทัศนคติที่ดีต่อบริษัทฯ ให้ความเคารพ เชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งการโดยชอบด้วยนโยบาย และระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ
  3. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต และมีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ
  4. ต้องมีจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเอง และต่อการปฏิบัติหน้าที่
  5. ศึกษาหาความรู้และบนหมั่นเพียรอย่างสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มทักษะในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
  6. ไม่ใช้อำนาจหน้าที่ของตน หรือยินยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ของตน ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แสวงหาประโยชน์ แก่ตนเองหรือผู้น

ทั้งนี้ สามารถศึกษานโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณธุรกิจ ได้ที่ www.prinsiri.com

การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่สำคัญของนโยบาย แนวปฏิบัติและระบบการกำกับดูแลกิจการในรอบปีที่ผ่านมา

ในปี 2565 บริษัทฯ มีการอนุมัติทบทวน นโยบาย แนวปฏิบัติและระบบการกำกับดูแลกิจการ โดยการพิจารณานโยบาย เกี่ยวข้องกับการท่ากับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้ครบคลุมและลore องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน รวมถึง สองกับโครงสร้างองค์กร และเพื่อให้รองรับการประเมิน ASEAN CG Scorecard และโครงการประเมินคุณภาพ เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแล กิจการของบริษัท โดยได้เปิดเผยไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ โดยกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถศึกษาและ ดาวน์โหลดได้ที่ https://www.prinsiri.com

บริษัทฯ คำนึงถึงการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการให้ทัดเทียมกับระดับสากล โดยการปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพ การณ์ของแต่ละบริษัท และชี้แจงข้อขัดข้องที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวได้ ซึ่งในปีที่ผ่านมา คณะกรรมการได้ ติดตาม ผลการดำเนินงาน เพื่อทบทวนและเสนอแนะแนวทางการดำเนินการปรับปรุงต่อบริษัทอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ บริษัทฯได้ปฏิบัติตาม หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีปี 2560 แล้ว หากแต่มีบางเรื่องบริษัทฯ ยังไม่สามารถปฏิบัติตามได้โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  หัวข้อ เหตุผล/ความจำเป็น
1. คณะกรรมการยังไม่มีการกำหนดนโยบายจำกัดจำนวนปีในการดำรงตำแหน่งของกรรมการอิสระไว้ให้ไม่เกิน 9 ปี โดยไม่มีข้อยกเว้น ตามข้อบังคับของบริษัทได้กำหนดให้มีกรรมการออกจากตำแหน่ง
จำนวนหนึ่งในสามในทุกๆ ปี โดยกรรมการที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดเป็นผู้ออกจากตำแหน่ง กรรมการ ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนจะเป็นผู้พิจารณาเลือกตั้งกรรมการที่มีความเหมาะสม เพื่อเสนอคณะกรรมการอนุมัติ บริษัทฯจึงพิจารณากำหนดนโยบายจำกัด จำนวนปีดังกล่าว อย่างไรก็ตามเพื่อรักษาความต่อเนื่องในการดำรงตำแหน่ง ของกรรมการอิสระ ที่มีประสบการณ์ที่จำเป็นต่อการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรม การให้บรรลุเป้าหมาย จึงยังมีขอยกเว้นสำหรับกรรมการบางท่าน ซึ่งมีคุณสมบัติสำคัญและจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจของ บริษัท ให้ได้รับการแต่งตั้งกลับเข้าดำรงตำแหน่งต่อเนื่องเกินระยะเวลา 9 ปี
2. คณะกรรมการยังไม่มีการกำหนดนโยบาย จำกัดจำนวนบริษัทจดทะเบียนที่กรรมการ แต่ละท่านจะดำรงตำแหน่งกรรมการได้ไม่ เกิน 5 แห่ง กรรมการของบริษัทบางคนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและประสบการณ์ ในสาขาวิชาชีพที่ค่อนข้างจำกัด ซึ่ง เป็นที่ต้องการของบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งทำให้ยังไม่สามารถจำกัดจำนวนบริษัทจดทะเบียนที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการได้ ตามแนวปฏิบัติที่ดี